เปลี่ยนการแสดงผล

en-USth-TH

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)


(คำถาม) Part No. ต่างกัน?
» ไม่ต้องระบุ Part No. และยื่นคำขอฯ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพียงชุดเดียว สามารถนำใบผลการตรวจคุณสมบัติฯ ไปประกอบการขอหนังสือรับรอง (Form) ได้ แต่ต้องมีการคำนวณต้นทุนการผลิตใหม่ทุกครั้งที่ขอ Form โดยไม่ต้องยื่นคำขอฯ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบใหม่ 


(คำถาม) ต้นทุนการผลิตต่างกัน?

» ถ้าหากต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงผ่านกฎถิ่นกำเนิดสินค้า สามารถใช้ใบผลการตรวจคุณสมบัติฯ เดิมที่มีอายุ 2 ปี โดยไม่ต้องยื่นให้ตรวจสอบใหม่ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไม่แน่ใจว่ายังผ่านกฎหรือไม่ สามารถยื่นให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบใหม่ได้


(คำถาม) ชื่อรุ่น/ต่างกัน?

» สินค้าพิกัดศุลกากรตอนที่ 84 85 และ 87 หากผู้ประกอบการจะระบุชื่อรุ่นในหนังสือรับรอง (Form) ก็ต้องระบุในคำขอตรวจคุณสมบัติฯ แต่หากว่าไม่ต้องการระบุชื่อรุ่น ใน Form ก็ไม่ต้องระบุในคำขอตรวจคุณสมบัติฯ 


(คำถาม) ขนาดและสีของสินค้าต่างกัน?

» การยื่นตรวจคุณสมบัติฯ ไม่ต้องระบุขนาดและสี


»  ชื่อสินค้า/พิกัดสินค้า

1.1.   ผู้ประกอบการจะต้องระบุชื่อสินค้าภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพิกัดศุลกากรของสินค้า

1.2. แนบหลักฐานจากประเทศปลายทางเพื่อยืนยันว่าศุลกากรปลายทางยอมรับชื่อสินค้า/พิกัด ในการนำเข้าที่ประเทศปลายทาง โดยชื่อสินค้าในหลักฐานต้องตรงกับชื่อสินค้าที่ยื่นขอตรวจคุณสมบัติฯ 


» กระบวนการผลิตต้องระบุให้ชัดเจนว่านำวัตถุดิบแต่ละรายการนำมาผ่านกระบวนการด้วยวิธีใด โดยระบุเป็นรายละเอียดหรือแนบเป็นแผนผังมาก็ได้

» วัตถุดิบในประเทศ ต้องเป็นวัตถุดิบที่ผลิตจากโรงงานในประเทศและผลิตถูกต้องตามถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศ ที่จะขอใช้สิทธิ แต่ถ้าไม่สามารถหาแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ ก็ให้ระบุเป็นวัตถุดิบนำเข้า

» กรณีระบุชื่อรุ่นของสินค้าให้ระบุชื่อรุ่นได้ เฉพาะสินค้า พิกัด 84,85 และ87 แต่ให้สังเกตว่ากรณียื่นหนังสือรับรอง ถิ่นกำเนิดสินค้า (Form) ระบุชื่อรุ่นด้วยหรือไม่ แต่ถ้า Form ไม่ระบุชื่อรุ่น การยื่นตรวจคุณสมบัติฯ ก็ไม่ต้องระบุชื่อรุ่น

» ผลการตรวจต้นทุนมีอายุ 2 ปี หากภายใน 2 ปี ต้นทุนของบริษัทไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงแต่ยังผ่านหลักเกณฑ์อยู่ก็ไม่ต้องยื่นตรวจคุณสมบัติฯ ใหม่ แต่ในการส่งออกแต่ละ Shipment บริษัทต้องคำนวณต้นทุนใหม่ทุก Shipment เพื่อระบุหลักเกณฑ์การผลิตตามที่ผลิตและส่งออกของแต่ละ Shipment ตามที่ขอ Form

» พิกัดศุลกากรที่จะระบุในหนังสือรับรองต้องสอดคล้องกับ ชื่อสินค้า และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ในกรณีนี้ไม่สามารถระบุเป็นพิกัดศุลกากรตอนที่ 40 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางได้

» ให้ผู้ประกอบการยื่นตรวจคุณสมบัติฯ วางแผนล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดความประชั้นชิดในการตรวจสอบคุณสมบัติฯ และลดผลกระทบในการส่งออก

» เนื่องจากขณะนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบการยื่นตรวจคุณสมบัติฯ ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะต้องนำคำรับรองมายื่นที่กรมฯ และรอรับผลฯ แต่ตั้งแต่ 1 พ.ย. 63 ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำรับรองผ่านระบบได้เลย โดยที่บริษัทสามารถเลือกสถานที่ที่จะให้ตรวจสอบคุณสมบัติฯ ได้ว่าคำขอของบริษัทให้กรมฯ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตรวจ ผู้ประกอบการจึงเลือกให้กรมฯ ตรวจ ทำให้ปริมาณงานมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 3 เท่า ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้า 

» สามารถตรวจสอบสถานะเมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้ว (สถานะกรมอนุมัติหรือกรมไม่อนุมัติ) ทั้งนี้ ในปัจจุบันไม่สามารถระบุได้ว่าการพิจารณาอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบ ให้ผู้ประกอบการสามารถทราบสถานะของคำขอฯ ได้ละเอียดยิ่งขึ้น